Header Ads

10 เหตุการณ์วิกฤติการณ์ประท้วงใหญ่ (ตอนที่ 1)

ภาพ: Time
เราจะทำอย่างไรเมื่อไม่ชอบการปกครองหรือการดำเนินงานในประเทศ? จริงอยู่ที่ประเทศของเราเป็นประชาธิปไตยที่สามารถลงคะแนนแสดงความคิดเห็นได้ แต่ก็ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้ถ้ามันจะเกิดขึ้น เพราะทุกวันนี้เราต่างก็เห็นการประท้วงกันอยู่บ้างในประเทศ อาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่มากมาย ซึ่งก็มีผลต่อการดูแลของภาครัฐบาลอยู่เช่นเคย ทั้งสิทธิเสรีภาพด้วยต่างๆ หรือกฎหมาย เสียงของเรามีพลังมากแค่ไหน? 10 เหตุการณ์วิกฤติการณ์ประท้วงใหญ่

10. Occupy Wall Street


ต้นเดือนกันยายน 2011 มีการประท้วงต่อต้านยึดครองวอลล์สตรีท หรือ Occupy Wall Street เกิดขึ้นโดยกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมที่เรียกร้องเพื่อความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่ 17 กันยายน 2011 เริ่มจากย่านธุรกิจในแมนฮัตตันและแพร่กระจายไปกว่า 100 เมืองในสหรัฐฯ และอีก กว่า 1,500 แห่งตามเมืองอื่นๆ ทั่วโลก “การยึดครองวอลล์สตรีท” นี้ กลุ่ม Occupy Wall Street ระบุว่า เป็นการต่อต้านกลุ่มนายทุน นายธนาคาร และบรรษัทต่างๆ ที่เป็นภาคธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือกระบวนการทางประชาธิปไตย รวมทั้งบทบาทของวอลล์สตรีทในการสร้างความล่มสลายทางเศรษฐกิจเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตลอดจนการเรียกร้องความเท่าเทียมทางสังคมและเศรษฐกิจ

9. Iraq War Protests


ประท้วงขนาดใหญ่ที่มีการเผยแพร่ไปทั่วโลก มีการประสานระหว่าง 600 เมืองทั่วโลกนั้นคือ "ประท้วงต่อต้านสงครามอิรัก" เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2003 กว่า 3 ล้านคนเดินขบวนในกรุงโรมในการชุมนุมต่อต้านสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเห็นอีก 1ล้านเดินในกรุงลอนดอนและ 1.5 ล้านในกรุงมาดริด ทั้งคนธรรมดา ผู้หญิงและเด็กก็เดินด้วย ซึ่งไม่ต้องการสงคราม และพวกเขาเหล่านั้นสงสัยว่าสงครามทั้งหมดเกิดจาก"น้ำมัน" ที่มีผลทางเศรษฐกิจนั้นเอง

8. Vietnam War Protests


การประท้วงเริ่มต้นในเดือนธันวาคมปี ในปี 1965 หลังจากที่สหรัฐฯเริ่มระเบิดเวียดนามเหนืออย่างจริงจัง การเดินเดินขบวนต่อต้านสงครามและการประท้วงอื่น ๆ ก็เริ่มขึ้น ให้ยกเลิกการส่งทหารเข้ามาร่วมรบในสงครามเวียดนาม แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ฟัง ยังคงส่งทหารไปรบ จนช่วงต้นปี 1968 เวียดนามเหนือ ก็"ชนะ" สงครามจึงสิ้นสุด ซึ่งที่เราจะเห็นได้ชัดในการต่อต้านสงครามคือภาพของ "อำนาจของดอกไม้" และ"จอห์นเลนนอนมีส่วนร่วมในครั้งนี้ด้วย"

7. The Miners’ Strike


การประท้วงที่ไร้ประโยชน์และเป็นตัวอย่างที่ทำลายหัวใจจากปี 1980 ในอังกฤษ ซึ่งนายกรัฐมนตรี Margaret Thatcher ปกครองอยู่ จากภาวะเศรษฐกิจถดถอย จึงการเริ่มต้นการปิดเหมืองถ่านหิน ทำให้คนงานที่เคยทำมางานนัดหยุดงานเพื่อประท้วงต่อต้านการปิดเหมืองถ่ายหิน

6. Salt Satyagraha


การประท้วงต่อต้านการผูกขาดเกลืออังกฤษในอาณานิคมอินเดีน การประท้วงที่รุนแรง ทำไหมถึง"รุนแรง" แต่จริงๆไม่มีความรุงแรงเกิดขึ้นเลย "มหาตมะคานธี"เลือกวิธีว่า ""ความจริงแรง" มาจากค่าว่า "Satyagraha" ภาษาสันสกฤต satya คือ "ความจริง" agraha คือ "บังคับ" ซึ่งอินเดียตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษในขณะนั้น อังกฤษห้ามไม่ให้ชาวอินเดียเก็บรวบรวมเกลือหรือใช่เกลือที่ผลิตด้วยตนเอง เกลือทั้งหมดต้องส่งให้อังกฤษเท่านั้น เขาประท้วงด้วยการเดิน 240 ไมล์พร้อมกับเกลือในกำมือไปเจรจาและต่อต้านกฎหมายของอังกฤษนั้นเอง ในที่สุดพวกเขาสำหรับการชนะอินเดียเป็นอิสระจากการปกครองของอังกฤษ

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.